เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: แมงกินฟัน
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนเข้าใจและเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันในเรื่องของการอยู่ การกิน เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีและพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

week6

เป้าหมายรายสัปดาห์  : นักเรียน เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันแตก/ฟันหัก เหงือกอักเสบได้

Week

Input

Process

Output

Outcome
6
15-19 มิ.ย. 58
โจทย์ :
โรคภายในช่องปาก
- ฟันแตก / หัก
- เหงือกอักแสบ

Key  Questions
- ถ้าเราใช้ฟันกัดสิ่งที่แข็ง  จะเป็นอย่างไร?
- ฟันแตกหรือฟันหักมีลักษณะเป็นอย่างไร แล้วถ้าเรามีฟันแตกหรือฟันหัก จะทำอย่างไร ?

เครื่องมือคิด
Brainstorms :
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูและฟัง
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมสำรวจฟันระหว่างเพื่อน
Think  Pair Share : การดูคลิปวีดีโอเพื่อฟันที่คุณรัก ตอน “ฟันแตก ฟันหัก”
 Black board Share : ลักษณะของฟันแตก ฟันหัก
Wall  Thinking : วาดภาพฟันลักษณะฟันแตก หรือฟันหัก
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- คลิปวีดีโอเพื่อฟันที่คุณรัก ตอน “ฟันแตก ฟันหัก”
- นิทานเรื่อง “ข้าวโพดฟันหลอ”
- เพลง “ฟ ฟันสวยจัง”
- แว่นขยาย
- บัตรคำพยัญชนะภาษาไทยตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง  ฐานฟัน (ด ต ถ ท ธ น ล ส)
วันจันทร์ (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอเพื่อฟันที่คุณรัก ตอน “ฟันแตก ฟันหัก”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร ?” “ฟันแตกหรือฟันหักมีลักษณะเป็นอย่างไร แล้วถ้าเรามีฟันแตกหรือฟันหัก จะทำอย่างไร ?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูคลิปวีดีโอ
ใช้ :
นักเรียนวาดภาพฟันลักษณะฟันแตก หรือฟันหัก
วันอังคาร (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “ฟ ฟันสวยจัง”
- ครูให้นักเรียนสำรวจฟันตนเอง พร้อมกับเล่าเรื่องราวประสบการณ์ที่เคยฟันหัก ฟันแตกให้เพื่อนและครูได้ฟัง
 - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ทำไมฟันถึงแตกและหักได้ เพราะอะไร ?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับฟันหักที่เกิดจากการวิ่งล้ม ให้กับนักเรียนได้ฟัง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าเป็นเราจะทำอย่างไร ?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ฟัง
ใช้ :
นักเรียนปั้นดินน้ำมันเป็นรูปฟันต่างๆ
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูนำบัตรคำพยัญชนะภาษาไทยตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง  ฐานฟัน (ด ต ถ ท ธ น ล ส) เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับอวัยวะภายในช่องปากที่สำคัญต่อการออกเสียง
- ครูพานักเรียนออกเสียงพยัญชนะฐานปุ่มเหงือก คือ ด ต ถ ท ธ น ล ส
 - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ขณะที่เราออกเสียงตามตัวอักษร รู้สึกอย่างไร ?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
วันศุกร์ (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ข้าวโพดฟันหลอ”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวการดูคลิปวีดีโอเพื่อฟันที่คุณรัก ตอน “ฟันแตก ฟันหัก”  
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้สังเกตเห็นจากการสำรวจฟัน

ชิ้นงาน
- วาดภาพฟันลักษณะฟันแตก หรือฟันหัก
- ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปฟันต่างๆ
ความรู้ :
- เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันแตก/ฟันหัก เหงือกอักเสบได้
- สามารถออกเสียงตัวพยัญชนะภาษาไทยตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง  ฐานปุ่มเหงือก ( ด ต ถ ท ธ น ล ส ) ได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิป วีดีโอ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
 ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู
ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการสังเกต
ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส ในการสำรวจอวัยวะภายในช่องปาก
ทักษะการคาดเดา
สามารถคาดเดาคำตอบและคาดเดาได้อย่างสมเหตุผล มีความเป็นไปได้
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม

คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู
ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการสังเกต
ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส ในการสำรวจอวัยวะภายในช่องปาก
ทักษะการคาดเดา
สามารถคาดเดาคำตอบและคาดเดาได้อย่างสมเหตุผล มีความเป็นไปได้
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม

คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

ตัวอย่างภาพกิจกรรม

























ตัวอย่างภาพชิ้นงาน









1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 6 ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาที่เด็กๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโรคภายในช่องปาก เช่น ฟันผุ ฟันแตก ฟันหัก ฯลฯ คุณครูได้ให้เด็กๆดูคลิปวีดีโอการ์ตูน
    “เพื่อฟันที่คุณรัก” ขณะที่ดู สังเกตเห็นเด็กๆ ต่างสนใจเรื่องราวที่กำลังดูไปพร้อมๆ กับการพูดคุยกับเพื่อนในช่วงที่ดู บอกเล่าว่าตนเองเคยกิน เคยทำเหมือนในการ์ตูนเลย หลังจากที่ดูเสร็จคุณครูและเด็กๆ ร่วมกันพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู “เห็นอะไร รู้สึกอย่างไร ถ้าเป็นเราจะทำอย่างไร?” หลากหลายคำตอบที่น่าสนใจจากเด็กๆ อย่างเช่น
    พี่ดิน : เวลาที่เรากินลูกอม แล้วไม่แปรงฟัน ปากก็เหม็นครับ
    พี่บอส : ถ้าเรากัดก้อนหินฟันก็จะหักครับ
    พี่แป้ง : เราวิ่งล้มก็ทำให้ฟันเราหักเหมือนกันค่ะ
    และทุกสัปดาห์เด็ก ๆ จะสำรวจฟันของตนเองถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับฟัน พร้อมทั้งเล่าให้กับเพื่อนและคุณครูได้ฟัง คุณครูสอดแทรกการทดลองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ แป้งข้าวโพด แป้งข้าวเจ้า การละลายและการจับตัว ความเหนียว แรงดึงดูดของแป้งทั้งสอง เด็กๆ ต่างสนใจในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และสามารถถ่ายทอดสิ่งที่สังเกตเห็นและความรู้สึกที่ได้จากการสัมผัสได้ดีทีเดียวค่ะ อย่างเช่น
    พี่เต้ : ตอนที่ผมวางมือลงไปในแป้งข้าวโพด รู้สึกเหมือนโคลนดูดเลยครับ
    พี่เป้ : ครูครับเหมือนทรายดูดมือเลย
    พี่โอบอ้อม : เวลามือเราจุ่มลงไปเหมือนมีงูเลื้อยเข้าตามนิ้วมือเราเลยค่ะ
    จากนั้นเด็กๆ ได้ฝึกการออกเสียงตัวอักษรแต่ละตัว และอ่านคำศัพท์ง่ายในทุกๆสัปดาห์ค่ะ

    ตอบลบ