เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: แมงกินฟัน
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนเข้าใจและเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันในเรื่องของการอยู่ การกิน เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีและพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

week5

เป้าหมายรายสัปดาห์  : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ และนำมาปรับใช้ในเรื่องของการกินในชีวิตประจำวันได้

Week

Input

Process

Output

Outcome
5
8-12 มิ.ย. 58

โจทย์ :
โรคภายในช่องปาก
- ฟันผุ
- กลิ่นปาก

Key  Questions
- ฟันผุเกิดจากอะไร และส่งผลต่อสุขภาพของเราอย่างไร?
- ถ้าวันหนึ่งเราเกิดมาไม่มีฟันจะเป็นอย่างไร?

เครื่องมือคิด
Brainstorms :
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูและฟัง
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการทดลอง
Think  Pair Share : การดูคลิปเจาะข่าวเด่น “ภัยฟันผุ”
 Black board Share : โรคภายในช่องปาก
Wall  Thinking : ประดิษฐ์พวงกุญแจรูปปากจากผ้า
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- คลิปเจาะข่าวเด่น “ภัยฟันผุ”
- ภาพโปสเตอร์โรคภายในช่องปาก เช่น ฟันผุ ฟันแตก ฟันเก ฟันซ้อน เลือดออกตามไรฟัน เหงือกอักเสบ ฯลฯ
- อุปกรณ์การทดลอง “น้ำตาลในน้ำอัดลม”  (น้ำอัดลม  กระทะไฟฟ้า)
- รูปฟันจากแผ่นโฟม (ฟันขาวแข็งแรง ฟันผุ หมึกสีดำ)
- บัตรคำพยัญชนะภาษาไทยตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง  ฐานปุ่มเหงือก ( )

วันจันทร์ (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูให้นักเรียนดูคลิปเจาะข่าวเด่น “ภัยฟันผุ”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร ?” “ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?” “ถ้าเป็นเราจะทำอย่างไร ?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู
ชง:
- ครูให้นักเรียนเล่นเกมจับคู่ภาพฟันกับอาหาร
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าวันหนึ่งเรา
เกิดมาไม่มีฟันจะเป็นอย่างไร?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้ :
นักเรียนวาดภาพฟันกับอาหาร
วันอังคาร (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูนำภาพโปสเตอร์โรคภายในช่องปากมาให้นักเรียนสังเกต เช่น ฟันผุ ฟันแตก ฟันเก ฟันซ้อน เลือดออกตามไรฟัน เหงือกอักเสบ ฯลฯ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการ “นักเรียนเคยปวดฟันหรือไม่ อย่างไร?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูนำอุปกรณ์การทดลอง “น้ำตาลในน้ำอัดลม”  (น้ำอัดลม  กระทะไฟฟ้า) มาให้นักเรียนสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร ? คิดว่าจะนำมาทำอะไร ?
ครูและนักเรียนร่วมกันทดลอง “น้ำตาลในน้ำอัดลม”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าเรากินน้ำอัดลมจะทำให้ฟันเป็นอย่างไร ?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการทดลอง
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูจำลองรูปฟันจากแผ่นโฟม (ฟันแข็งแรง ฟันผุ หมึกสีดำ) มาให้นักเรียนสังเกตพร้อมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับฟันผุ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ฟันผุเกิดจากอะไร และส่งผลต่อสุขภาพของเราอย่างไร?
ใช้ :
นักเรียนประดิษฐ์พวงกุญแจรูปปากจากผ้า
วันศุกร์ (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูนำบัตรคำพยัญชนะภาษาไทยตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง  ฐานปุ่มเหงือก (ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ษ ฬ) เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับอวัยวะภายในช่องปากที่สำคัญต่อการออกเสียง
- ครูพานักเรียนออกเสียงพยัญชนะฐานปุ่มเหงือก คือ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ษ ฬ
 - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ขณะที่เราออกเสียงตามตัวอักษร รู้สึกอย่างไร ?
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวการดูคลิปเจาะข่าวเด่น “ภัยฟันผุ” เกมจับคู่ภาพ
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้สังเกตเห็นจากภาพโปสเตอร์
 - แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโรคภายในช่องปาก
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลอง “น้ำตาลในน้ำอัดลม”

ชิ้นงาน
- วาดภาพฟันกับอาหาร
- ประดิษฐ์พวงกุญแจรูปปากจากผ้า
ความรู้ :
- เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ และนำมาปรับใช้ในเรื่องของการกินในชีวิตประจำวันได้
- สามารถออกเสียงตัวพยัญชนะภาษาไทยตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง  ฐานปุ่มเหงือก (ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ษ ฬ) ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฟังนิทาน ดูคลิปวีดีโอ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการสังเกต
ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส ในการสำรวจอวัยวะภายในช่องปาก
ทักษะการคาดเดา
สามารถคาดเดาคำตอบและคาดเดาได้อย่างสมเหตุผล มีความเป็นไปได้
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม

คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

ตัวอย่างภาพกิจกรรม

















ตัวอย่างภาพชิ้นงาน


















2 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้ คุณครูและเด็กๆ เรียนรู้เกี่ยวกับโรคฟันผุ โดยเล่าผ่านนิทาน การทดลอง และการสำรวจฟันของตนเองในทุกๆสัปดาห์ และเด็กๆยังได้บอกเล่าสิ่งที่สังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของฟันตนเองให้กับเพื่อนๆและครูได้ฟัง รวมทั้งเด็กๆได้เล่นเกมจับคู่อาหารกับฟัน จากนั้นได้พูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ เด็กๆสามารถบอกได้ถึงสิ่งที่กินเข้าไปแล้วว่าจะเป็นอย่างไรกับฟันของเราได้หลากหลายเหตุผลตามความเข้าใจ อย่างเช่น
    พี่แป้ง : เราก็กินผักผลไม้นะคะ แต่ที่ฟันผุเพราะว่าไม่แปรงฟันค่ะ
    พี่หยก : กินผักผลไม้เหมือนกันแต่ฟันก็ผุได้เหมือนกันค่ะ
    พี่ต้นกล้า : กินน้ำด้วยครับจะทำให้ฟันเราแข็งแรง
    อีกทั้งเด็กๆยังคงได้ฝึกการออกเสียงคำศัพท์ต่อเนื่องในทุกๆสัปดาห์ อย่างเช่น คำว่า “ช้าง” ยังมีบ้างบางคนที่ออกเสียงเป็นตัว “ซ” เวลาเทียบเสียงจะออกเสียงเป็นภาษาถิ่นของแต่ละคน แต่ทุกคนตั้งใจและทำได้ดีค่ะ

    ตอบลบ