เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: แมงกินฟัน
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนเข้าใจและเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันในเรื่องของการอยู่ การกิน เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีและพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

week7

เป้าหมายรายสัปดาห์  : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับความเหมือน ความต่างของฟันน้ำนมและฟันแท้ อีกทั้งดูแลรักษาสุขภาพฟันให้ดีได้

Week

Input

Process

Output

Outcome
7
22-26 มิ.ย. 58
โจทย์ :
ประเภทของฟัน
- ฟันน้ำนม
- ฟันแท้

Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าฟันซี่แรกของเราเกิดขึ้นได้อย่างไร
- ทำไมเรียนว่าฟันน้ำนม และฟันน้ำนมมีกี่ซี่ ?

เครื่องมือคิด
Brainstorms :
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูและฟัง
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการเล่นเกม “ลำดับฟันน้ำนม”
Think  Pair Share : ลักษณะของฟันน้ำนม/ฟันแท้
 Black board Share :ความเหมือน ความต่างของฟันน้ำนม
และฟันแท้
Wall  Thinking : วาดภาพฟันน้ำนมของหนู
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- เพลง “ฟ ฟันสวยจัง”
- นิทานเรื่อง “คุณฟองฟันหลอ”
- เกม “ลำดับฟันน้ำนม”
- ขนมหวาน ลูกอม น้ำอัดลมและผัก ผลไม้ต่างๆ ฯลฯ
วันจันทร์ (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “ฟ ฟันสวยจัง”
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ฟันหนูอยู่ไหน”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าฟันซี่แรกของเราเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ฟังจากนิทาน
ใช้ :
นักเรียนวาดภาพฟันน้ำนมของหนู
วันอังคาร (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มร่วมกันร่วมกันเล่นเกม “ฟันน้ำนม”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ทำไมเรียกว่าฟันน้ำนม และฟันน้ำนมมีกี่ซี่ ?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้ :
นักเรียนปั้นดินน้ำมันหมู่บ้านฟันน้ำนม
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูให้นักเรียนสำรวจและนับจำนวนฟันน้ำนมภายในช่องปากของตนเอง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าฟันของแต่ละคนมีจำนวนเท่ากันหรือไม่ เพราะอะไร?
เชื่อม :
ครูนำขนมหวาน ลูกอม น้ำอัดลมและผัก ผลไม้ต่างๆ ฯลฯ มาให้นักเรียนสังเกต
ชง :
- ครูให้นักเรียนเลือกหยิบสิ่งที่ตนเองชอบทานมากที่สุดคนละ 1 อย่าง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าสิ่งที่เราทานเข้าไป จะทำให้ฟันน้ำนมของเราเป็นอย่างไร?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูนำบัตรคำพยัญชนะภาษาไทยตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง  ฐานริมฝีปาก (บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ว) เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับอวัยวะภายในช่องปากที่สำคัญต่อการออกเสียง
- ครูพานักเรียนออกเสียงพยัญชนะฐานปุ่มเหงือก คือ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ว
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ขณะที่เราออกเสียงตามตัวอักษร รู้สึกอย่างไร ?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้ :
นักเรียนประดิษฐ์พวกกุญแจรูปฟัน
วันศุกร์ (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง “คุณฟองฟันหลอ”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าฟันของคนกับสัตว์ต่างๆ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ฟัง
ชง :
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวการดูคลิปวีดีโอเพื่อฟันที่คุณรัก ตอน “ฟันแตก ฟันหัก”  
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้สังเกตเห็นจากการสำรวจฟัน

ชิ้นงาน
- วาดภาพฟันน้ำนมของหนู
- ปั้นดินน้ำมันหมู่บ้านฟันน้ำนม
- ประดิษฐ์พวกกุญแจรูปฟัน
ความรู้ :
- เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับความเหมือน ความต่างของฟันน้ำนมและฟันแท้ อีกทั้งดูแลรักษาสุขภาพฟันให้ดีได้
- สามารถออกเสียงตัวพยัญชนะภาษาไทยตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง  ฐานริมฝีปาก (บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ว) ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
ทักษะการสังเกต
ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส ในการสำรวจอวัยวะภายในช่องปาก
ทักษะการคาดเดา
สามารถคาดเดาคำตอบและคาดเดาได้อย่างสมเหตุผล มีความเป็นไปได้
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม

คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

ตัวอย่างภาพกิจกรรม














































ตัวอย่างภาพชิ้นงาน




บันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่โรงพยาบาล (ห้องทันตกรรม)










1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 7 แล้วค่ะ สำหรับการเรียนรู้หน่วย “แมงกินฟัน” คุณครูและเด็ก ๆ เรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประเภทของฟัน ผ่านเรื่องเล่าจากประสบการณ์จริงของครูและเด็ก ๆ จากการฟังนิทาน และทุกสัปดาห์ของการเรียนรู้ ทุกคนจะได้สำรวจฟันของตนเอง พร้อมเล่าถึงความเปลี่ยนแปลที่สังเกตเห็นของฟันตนเองให้เพื่อนและคุณครูได้ฟัง อีกทั้งยังได้ฝึกการอ่านออกเสียงคำเชื่อมโยงสู่การเรียนรู้ภาษาไทย ในวันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2558 เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ใหม่ ในการเรียนรู้นอกห้องเรียนของเด็ก ๆ ได้มีโอกาสไปเรียนรู้ที่โรงพยาบาลลำปลายมาศ (ห้องทันตกรรม) กับคุณหมอตาล และผู้ปกครองที่น่ารักที่ได้ไปร่วมเรียนรู้พร้อม ๆกัน ทุกคนตื่นเต้นกับสถานที่จริง ได้ดูการสาธิตการตรวจรักษาฟัน การอุดหลุมร่องฟัน ซึ่งเด็กๆ ต่างสนใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมออกมาได้เป็นอย่างดีทีเดียว
    พี่หนู่ยิ้ม : คุณหมอค่ะทำไมฟันหนูถึงเล็ก
    คุณหมอตาล : ฟันหนูยิ้มยังเป็นฟันน้ำนมอยู่ เมื่อมีฟันแท้เกิดขึ้นฟันก็จะใหญ่ขึ้นเองค่ะ
    พี่นโม : คุณหมอครับ ทำไมโมต้องใส่ที่ครอบฟันสีเงิน
    คุณหมอตาล : เอ้ ! แสดงว่านโมเคยฟันผุมาก่อนแน่เลย ถึงต้องใส่ไว้ใช่หรือเปล่าค่ะ
    พี่ดชว์ : ทำไมเราต้องโยนฟันขึ้นบนหลังคาครับ
    คุณหมอตาล : ฮ่า ฮ่า ๆ คำถามนี้คงต้องถามคุณพ่อ คุณแม่แล้วค่ะ หมอก็อยากรู้เหมือนกันค่ะ
    คุณหมอตาล : เด็ก ๆ กินขนมได้ แต่เราต้องแปรงฟันด้วยนะคะ
    คุณหมอตาล : ฝากคุณพ่อ คุณแม่ นะคะช่วยดูแลฟันของเด็ก ๆ โดยที่เราสามารถแปรงฟันให้กับลูก ๆ และพามาตรวจฟันอย่างสม่ำเสมอ อย่ารอให้เด็ก ๆ ปวดฟันแล้วค่อยพามานะคะ

    ตอบลบ