เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: แมงกินฟัน
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนเข้าใจและเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันในเรื่องของการอยู่ การกิน เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีและพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

week2

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถปรับตัวและ เข้าใจข้อตกลงของห้องร่วมกัน ปฏิบัติตามวิถีของโรงเรียนและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
2
18 – 22
พ.ค. 58
โจทย์ :
การปรับตัวและสร้างความไว้วางใจ

Key  Questions
นักเรียนคิดว่าโรงเรียนของเรามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง ?

เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้พบเห็นจากการเดินสำรวจและฟังนิทาน
Wall  Thinking : ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปอะไรก็ได้ที่ชอบ
Show and Share : นำเสนอชิ้นงานประดิษฐ์พัดรูปหน้าสัตว์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู
นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
บรรยากาศภายในชั้นเรียน
บรรยากาศรอบบริเวณโรงเรียน
- นิทานเรื่อง ระหว่างทางไปปิกนิก
- นิทานเรื่อง ภูเขากับต้นไม้
- เพลง รถไฟ
- เพลง กินผักผลไม้
วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง รถไฟ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าเราไม่มีแม่บ้านช่วยทำความสะอาดตึกอนุบาลให้ จะทำอย่างไร ?
เชื่อม :
 ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ฟัง
วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง)
  ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง ภูเขากับต้นไม้เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่การอยู่ร่วมกันของพี่อนุบาล 2
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ถ้าเป็นเราจะทำอย่างไร?” “เราจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้อย่างไร?
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ฟังจากนิทาน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด คิดว่าทำไมเราต้องมาโรงเรียน ?”
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง : 
- ครูเล่านิทานเรื่อง ระหว่างทางไปปิกนิกเพื่อสร้างแรงบันดาลใจการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าเราได้ไปเที่ยวด้วยกัน จะเตรียมอะไรไปบ้าง?” “เราจะดูแลกันอย่างไร?
เชื่อม : 
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ฟังจากนิทาน
ใช้ : 
นักเรียนปั้นดินน้ำมันเป็นรูปอะไรก็ได้ที่ชอบ
วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง กินผักผลไม้
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ทำไมเราต้องทานผักผลไม้?” “ถ้านักเรียนไม่อาบน้ำแปรงฟันจะเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : 
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนรวมถึงการทำกิจกรรมในแต่ละวันในโรงเรียนร่วมกันกับครู เพื่อน ผู้ปกครอง ฯลฯ 
ใช้ : 
นักเรียนเต้นประกอบเพลง “กินผักผลไม้”
วันศุกร์ ( 1 ชั่วโมง )
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมสนทนาทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งสัปดาห์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการทำกิจกรรมร่วมกันตลอดทั้งสัปดาห์
ภาระงาน
การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปฏิบัติตามวิถีของโรงเรียน
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเพลงและนิทานที่ได้ฟัง

ชิ้นงาน
- เต้นประกอบเพลง “กินผักผลไม้”
- ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปอะไรก็ได้ที่ชอบ
ความรู้
สามารถปรับตัว มีความไว้วางใจ เข้าใจข้อตกลง ปฏิบัติตามวิถีของโรงเรียนและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนรู้และอยากเรียนรู้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้ อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ

คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
    - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน


ตัวอย่างภาพกิจกรรม






ตัวอย่างภาพชิ้นงาน




1 ความคิดเห็น:

  1. เข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 ค่อยๆปรับตัวเพื่อการเตรียมพื้นฐานการเรียนรู้รายวิชาต่างๆ และพี่ๆอนุบาล 2 และการปรับตัวของเพื่อนใหม่ 3 คน คือ พี่หนูยิ้ม พี่ดิน พี่การ์ฟิวส์ จากการสังเกตทั้งสามคนสามารถที่จะปรับตัวได้เป็นอย่างดีกับเพื่อนๆในห้องและวิถีของโรงเรียน เด็กๆ ได้ฟังนิทาน ปั้นดินน้ำมัน และการสร้างข้อตกลงร่วมกันของห้องเรียน การเล่นระหว่างพี่กับน้อง เพื่อนกับเพื่อน รวมถึงการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ซึ่งเด็กๆนั้นสามารถทำได้เป็นอย่างดี

    ตอบลบ